“เหล็กเส้นข้ออ้อย” สิ่งที่คนสร้างบ้านต้องรู้
เหล็กข้ออ้อยมีความสำคัญต่อการสร้างบ้านเป็นอย่างมาก เพราะการสร้างบ้านต้องศึกษาเกี่ยวกับเรื่องวัสดุต่างๆ รวมถึงการหาผู้รับเหมาที่สามารถไว้ใจได้เพื่อมาสร้างบ้านที่มีคุณภาพ และป้องกันไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากการเลือกซื้อวัสดุของผู้รับเหมา ซึ่งต้องพิจารณาตั้งแต่การเลือกซื้อ และการเลือกใช้อย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้เหล็กเส้นข้ออ้อยที่ได้มาตรฐาน มอก.
เหล็กเส้นข้ออ้อย (DEFORMED BARS DB)
เนื่องจากผิวของเหล็กมีลักษณะเป็นปล้องๆ คล้ายๆอ้อย จึงเรียกว่า เหล็กเส้นข้ออ้อย ตามมาตรฐาน มอก. 24-2536 กำหนดให้เหล็กเส้นข้ออ้อยมีชั้นคุณภาพหลายชั้น เช่น SD30, SD40, SD50 และ SD60 ซึ่ง SD30 จะหมายถึงเหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 3,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร หรือ SD40หมายถึงเหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม/เซนติเมตร ขนาดของเหล็กมีตั้งแต่ 10มม. ถึง 40 มม. ความยาวมาตรฐานคือ 10ม. และ 12มม. หรือสามารถสั่งดัดพิเศษตามต้องการได้ เหล็กเส้นข้ออ้อยจะใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ
ในเสาแนวตั้ง จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กยืน (ตั้งตลอดแนวเสา) และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็กปลอกรัดรอบเหล็กยืนเป็นระยะๆ ในคานแนวนอน จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กนอน (ยาวตลอดแนวคาน) และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็ก ปลอกรัดรอบเหล็กนอกเป็นระยะๆ และเมื่อมาถึงคำถามที่ว่า
วิธีการตรวจสอบเบื้องต้น โดยวิธีการสังเกตเหล็กเส้นข้ออ้อย
เนื้อเหล็ก เหล็กข้ออ้อยต้องมีบั้งเป็นระยะเท่าๆ กันสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น บั้งและครีบต้องมีขนาดและรูปร่างเหมือนๆ กัน มีสัญลักษณ์ ตราสินค้า ชื่อยี่ห้อสินค้า ชั้นคุณภาพ ชนิดเหล็ก และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ปั๊มมาบนผิวเหล็ก
ป้ายรายละเอียดเหล็ก มีรายละเอียดบนป้ายเหล็กที่สำคัญ อาทิ ชื่อบริษัท, ประเภทสินค้า (Type), ชั้นคุณภาพ (Grade), ขนาด (Size), ความยาว (Length), จำนวนเส้นต่อมัด (PSC : Bundle), เลขที่เตาหลอม (Batch,Head), วัน/เวลาที่ผลิต (Date/Time), เครื่องหมายและเลขที่ มอก.
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางต้องได้เกณฑ์ตามมาตรฐาน มอก. กำหนดที่เรียกว่า “เหล็กเต็ม” เช่น เหล็ก 9 มม. จะต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 9 มม. ขึ้นไป โดยเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ คือ เวอร์เนีย หรืออุปกรณ์อื่นที่สามารถใช้วัดได้ เช่น ตลับเมตร หรือไม้บรรทัด เป็นต้น ขนาดต้องเท่ากันตลอดเส้น ความยาวเท่ากันทุกเส้น จำนวนเส้นในมัดครบถ้วน
เหล็กเส้นข้ออ้อยนั้นมีคุณภาพที่หลากหลายในตลาด เนื่องจากยังมีแบ่งเป็นเหล็กเต็ม และเหล็กเบาอีกด้วย ดังนั้นการสร้างบ้านจึงต้องตรวจสอบอย่างละเอียดจากผู้รับเหมาเพื่อให้แน่ใจว่าเหล็กเส้นข้ออ้อยที่นำมาใช้นั้นเป็นเหล็กที่ได้คุณภาพตรงตามาตรฐาน