Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/thanasarnc/domains/thanasarn.co.th/public_html/wp-content/themes/divi/includes/builder/functions.php on line 4783
ศุลกากรเข้มเลี่ยงภาษีเหล็กซึ่งจะเป็นระเบียบควบคุมการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้า เพื่อให้กรมศุลกากรมีมาตรฐานในการตรวจสอบข้อมูลการนำเข้าได้

ศุลกากรเข้มเลี่ยงภาษีเหล็ก

แหล่งข่าวจากกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรเตรียมออกประกาศ ซึ่งจะเป็นระเบียบควบคุมการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้า ครอบคลุมตั้งแต่การสำแดงข้อมูลนำเข้า การยื่นเอกสารตรวจปล่อย และการชักตัวอย่างสินค้าเพื่อตรวจสอบครอบคลุมสินค้าเหล็กและเหล็กกล้าที่นำเข้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน เขตปลอดอากรด้วย เพื่อให้กรมศุลกากรมีมาตรฐานในการตรวจสอบข้อมูลการนำเข้าได้

เนื่องจากสินค้านำเข้าเหล็กและเหล็กกล้ามีความอ่อนไหวการเสียภาษีไม่ถูกต้อง โดยการสำแดงผิดจากความเป็นจริงทั้งชนิดของเหล็ก และปริมาณนำเข้าของเหล็กที่แท้จริงขณะที่การสำแดงนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้า ผู้นำเข้าต้องสำแดงขนาดของเหล็กที่ชัดเจน มาตรฐานคุณภาพของเหล็ก รูปทรง สภาพผิวของเหล็ก โรงงานที่ผลิต กรณีที่สืบสวนปราบปรามของกรมศุลกากรสงสัยข้อมูลการนำเข้าสามารถเรียกข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้นำเข้าได้

ซึ่งหากผู้นำเข้าไม่สามารถดำเนินการให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ แต่ต้องการสินค้าออก จะต้องวางประกันภาษีทุกประเภทในอัตราสูงสุดแหล่งข่าวระบุว่า คาดว่าระเบียบการควบคุมการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าจะมีผลบังคับใช้ในไม่ช้านี้ เพราะอยู่ระหว่างถามความเห็นกับผู้ประกอบการนำเข้าเพื่อปรับปรุงประกาศดังกล่าว

ก่อนหน้านี้ นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กลุ่มสินค้าที่กรมศุลกากรจะตรวจสอบการนำเข้าพิเศษได้แก่ กลุ่มเหล็ก รถยนต์ เครื่องจักร สินค้าไอที และสินค้าผลิตภัณฑ์พลาสติก ซึ่งถือเป็นสินค้าที่มีการเสียภาษีไม่ถูกต้องจำนวนมาก
นอกจากนี้ กรมศุลกากรได้ตั้งศูนย์ข้อมูลเพื่อรวบรวมข้อมูลผู้นำเข้าที่อยู่ในข่ายเลี่ยงภาษี และส่งไปให้ด่านต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือคลองเตย ด่านขนถ่ายสินค้าลาดกระบัง และสนามบินสุวรรณภูมิ  ทำการตรวจสอบเป็นพิเศษ ซึ่งด่านดังกล่าวมีการนำเข้าสินค้า 92% ของการนำเข้าทั้งหมด

ทั้งนี้ ปีงบประมาณ2560 ตั้งเป้าเก็บภาษี 1.05 แสนล้านบาท โดยเพิ่มประสิทธ์ภาพอุดช่องรั่วไหลจาการเก็บภาษี 3 ด้าน ได้แก่ การนำเข้าสินค้าและสำแดงต่ำกว่าราคาเป็นจริง การนำเข้าเป็นเท็จ และการนำเข้าน้ำหนักเกินเลยแจ้งต่ำกว่าความเป็นจริง
Cr : โพสต์ทูเดย์