เหล็กรางน้ำ (Channels)

เป็นเหล็กรูปพรรณขึ้นรูปร้อน มีลักษณะหน้าตัดเป็นตัวยู (U) โดยมีขนาดขาทั้งสองข้างยาวเท่ากัน มีขนาดและสเปคที่ไม่ผิดพลาด หน้าตัดมีความเรียบ ความหนาและขนาดจะต้องเท่ากันตลอดทั้งเส้น ผลิตสินค้าตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเลขที่ มอก. 1227-2558 ชั้นคุณภาพ SS400-540 และ SM400

เหล็กรางน้ำ (Channels) เหมาะสำหรับงาน

  • ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่
  • เสาสื่อสารโทรคมนาคม
  • เสาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง
  • โครงหลังคาโรงงาน
  • โครงหลังคาบ้าน
  • งานโครงสร้างทั่วไป

*การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหรืออาคารแต่ละประเภทนั้น มีเงื่อนไขการเลือกใช้เหล็กที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งนี้ควรให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญเป็นออกแบบผู้กำหนดสเปคของเหล็ก

ประโยชน์ของการใช้เหล็กรางน้ำ (Channels) คือ

มีความสะดวกรวดเร็วในการติดตั้ง ประหยัดแรงงานก่อสร้าง     น้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับขนาดโครงสร้างโดยรวม
เมื่อน้ำหนักโครงสร้างเบาก็จะทำให้น้ำหนักของฐานราก รวมถึงค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลดลงไปด้วย  เหล็กนั้นเป็นวัสดุที่นำกลับมา

ใช้ใหม่ได้ ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง  เหล็กรูปตัวยู (U) ต่างกับเหล็กรูปตัว (C) อย่างไร และมีวิธีการสังเกตอย่าง

ดูเผินๆอาจจะแยกเหล็กสองชนิดนี้ได้ไม่ชัดนักเนื่องจากรูปร่างที่ต่างเพียงเล็กน้อยซึ่งจะต้องดูที่ section ดีๆว่าเป็นเหล็กรูปตัวยู (U) หรือเหล็กตัวซี (C) อีกจุดที่จะทำให้สามารถแยกแยะได้คือ ความหนา

ด้วยการผลิตที่แตกต่างกันคือเหล็กรูปตัวยู (U) ผลิตด้วยการรีดร้อนจึงมีความหนามากกว่า เหล็กตัวซี (C) ที่ผลิตโดยการพับและม้วนแผ่นเหล็ก       ด้วยความหนาและกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันส่งผลให้มีการรับน้ำหนักที่ไม่เท่ากัน เหล็กรูปตัวยู (U) จึงเหมาะกับงานโครงสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมาก ส่วนเหล็กตัวซี (C) ใช้กับโครงสร้างเบาทั่วๆไป

สูตรการคำนวณน้ำหนักเหล็กโดยประมาณ

  1. เหล็กกลม
    เส้นผ่าศูนย์กลาง (ซม.) x เส้นผ่าศูนย์กลาง (ซม.) x ความยาว (ซม.) x 0.0062 = น้ำหนัก (กก.)
  2. เหล็กสี่เหลี่ยม
    ขนาด (ซม.) x ขนาด (ซม.) x ความยาว (ซม.) x 0.0079 = น้ำหนัก (กก.)
  3. เหล็กหกเหลี่ยม
    ขนาด (ซม.) x ขนาด (ซม.) x ความยาว (ซม.) x 0.0068 = น้ำหนัก (กก.)
  4. เหล็กแปดเหลี่ยม
    ขนาด (ซม.) x ขนาด (ซม.) x ความยาว (ซม.) x 0.0065 = น้ำหนัก (กก.)
  5. เหล็กแบน
    ความหนา (ซม.) x ความกว้าง (ซม.) x ความยาว (ซม.) x 0.0079 = น้ำหนัก (กก.)
  6. เหล็กแผ่น
    ความหนา (มม.) x ความกว้าง (ฟุต) x ความยาว (ฟุต) x 0.7293 = น้ำหนัก (กก.)

ขอบคุณข้อมูลจากwazzadu.com/article/3245