เหล็กรูปพรรณมีกี่ประเภท   เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม

ผู้ออกแบบหลายท่านคงเคยมีข้อสงสัยว่า การเลือก “วัสดุเหล็กรูปพรรณ” ที่จะนำมาใช้ในงานออกแบบนั้น ควรเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมกับการก่อสร้าง แม้ว่าเราอาจจะคุ้นเคยกับการใช้เหล็ก H-BEAM กันมาบ้างแล้ว แต่การรู้จักวัสดุเหล็กประเภทต่าง ๆ ก็ยังช่วยให้เราสามารถวางแผนการสั่งเหล็กเพื่อการดีไซน์ได้ประหยัดมากขึ้น และเพื่อโครงสร้างอาคารที่ยั่งยืนกว่า

สำหรับเหล็กรูปพรรณโครงสร้างที่ใช้กันทั่วไปในงานอาคารที่พักอาศัย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (Hot rolled structural steel) และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น (Cold formed structural steel) ซึ่งมีความแตกต่างกันตั้งแต่กระบวนการผลิต และการนำไปใช้

กระบวนการผลิต เหล็กรีดร้อน vs เหล็กขึ้นรูปเย็น

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน หรือ “เหล็กรีดร้อน” ที่เรารู้จัก คือเหล็กที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตโดยการรีดให้มีหน้าตัดและรูปทรงตามที่ต้องการ ภายใต้อุณภูมิสูงถึงประมาณ 1,200 องศา จึงสามารถรีดเหล็กให้มีหน้าตัดที่ใหญ่ มีความหนาและผลิตได้หลายรูปทรง ได้แก่ เหล็กเอชบีม (H-beam), ไอบีม (I-Beam), เหล็กรางน้ำ (Channel), เหล็กฉาก (Angle) และ คัทบีม (Cut Beam) เหมาะสำหรับการใช้งานหลากหลายรูปแบบ

ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น หรือ “เหล็กขึ้นรูปเย็น” เกิดจากการขึ้นรูปเหล็กแผ่นในอุณหภูมิปกติ โดยใช้การพับหรือม้วนงอแผ่นเหล็ก และเชื่อมเหล็กเข้าด้วยกันให้มีรูปทรงตามต้องการ เช่น เหล็กกล่อง, เหล็กท่อกลม, เหล็กตัวซี (Light Lip Channel)

ซึ่งหลายคนอาจจำสับสนกับ “เหล็กรีดเย็น (Cold-Rolled)” ที่เกิดจากการนำแผ่นเหล็กรีดร้อนชนิดม้วน มารีดเย็นต่อเพื่อลดความหนา ซึ่งไม่เหมาะสำหรับงานโครงสร้างแต่เหมาะกับงานที่ต้องการความบางและคุณภาพผิวสูง อาทิเช่น แผ่นหลังคา เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

 

เหล็กรีดร้อน กับการรับแรงที่เหนือกว่า

เนื่องจากเหล็กรีดร้อน ถูกรีดในขณะที่เหล็กมีอุณหภูมิสูง เหล็กที่รีดจึงได้รับความร้อนและเย็นตัวลงเป็นลำดับทำให้ผลึกเหล็กมีความละเอียดมากขึ้น เหล็กประเภทนี้จึงมีกำลังและความเหนียวสูง

 

ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ได้จะมีหน้าตัดใหญ่ มีความแข็งแรงและคงทนกว่า จึงเหมาะสำหรับการนำไปใช้กับงานโครงสร้างหลัก อย่าง เสา-คานหลัก เพื่อรับน้ำหนักพื้น รับโครงหลังคาช่วงพาดกว้าง หรือแม้แต่โครงหลังคาดาดฟ้าที่ต้องรับคอนกรีตซึ่งมีน้ำหนักมาก ๆ เป็นต้น

ในขณะที่เหล็กขึ้นรูปเย็น เนื้อเหล็กจะมีความเหนียวน้อยและบางกว่า มีหน้าตัดที่เล็กกว่าเหล็กรีดร้อน จึงควรใช้กับงานโครงสร้างชั่วคราว เช่น นั่งร้าน ศาลาพักคอย หรือโครงสร้างส่วนที่ไม่เน้นการรับน้ำหนัก เช่น งานหลังคา โดยข้อดีของน้ำหนักที่เบาของวัสดุก็สามารถใช้ทดแทนโครงสร้างส่วนที่รับแรงน้อย เพื่อลดน้ำหนักและขนาดของเหล็กลงได้

 

หน้าตัดเหล็ก ช่วยลดภาวะการเกิดสนิม

เหล็กรีดร้อนมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ทั้งเรื่องความหนาและรูปทรง โดยจะมีหน้าตัดแบบ Open section ที่สามารถทำสีได้ทุกพื้นที่ผิวรอบด้าน ไม่มีรูกลวงด้านใน ลดภาวะการเกิดสนิมในอนาคต

แตกต่างกับเหล็กขึ้นรูปเย็นที่เกิดจากการพับเหล็กที่มีความบางเป็นหน้าตัดแบบ Close section มีลักษณะเป็นกล่องหรือท่อกลม ซึ่งอากาศและความชื้นสามารถเข้าไปก่อเกิดเป็นสนิมทั้งด้านในและบริเวณโคนเสาได้ง่ายกว่า เหล็กรีดร้อนหรือเหล็กบีมจึงง่ายต่อการบำรุงรักษาและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเหล็กขึ้นรูปเย็น

 

มาตรฐานผลิตภัณฑ์เหล็กรูปพรรณรีดร้อนจาก SYS

นอกจากเหล็กรูปพรรณรีดร้อนจะมีความแข็งแรงมากกว่า ในกระบวนการผลิตยังต้องผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับเพื่อควบคุมคุณภาพเหล็กให้ดีที่สุด ซึ่งมีความสำคัญต่อการก่อสร้างเพราะส่งผลอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัย

ซึ่งมั่นใจได้เลยในผลิตภัณฑ์เหล็กรูปพรรณรีดร้อนจาก SYS ด้วยคุณภาพ สอดคล้องตามคุณสมบัติ ตลอดจนชั้นคุณภาพต่าง ๆ และมีการผลิตที่ได้มาตรฐานตาม มอก.1227: 2558 อีกทั้งเหล็ก H-BEAM ยังตอบโจทย์อย่างครอบคลุมกับการใช้งานในทุกองค์ประกอบของโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นงานเสา คาน หรืองานหลังคา ก็สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยน จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้การทำงานในโครงการของคุณสะดวกมากยิ่งขึ้น

 

เหล็กรูปพรรณ คืออะไร

เหล็กรูปพรรณ เป็นเหล็กชนิดหนึ่งที่มีการแปรรูปออกมาเป็นเหล็กชนิดอื่น ๆ หรือเป็นวัสดุรูปทรงต่างๆ  เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน ถ้าหากต้องการอธิบายให้เห็นภาพ เหล็กรูปพรรณก็เหมือนกับทองคำ ทองคำตามธรรมชาติจะมีลักษณะเป็นก้อนที่ไม่มีรูปทรง เมื่อต้องการนำมาทำเป็นทองคำแท่ง หรือทำเป็นเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ กำไล แหวน ก็จะต้องมีการแปรรูปทองให้ออกมาตามลักษณะนั้น ๆ เหล็กรูปพรรณเองก็เช่นกัน โดยลักษณะของการแปรรูปเหล็กรูปพรรณที่สามารถพบเห็นได้บ่อยที่สุด มีดังต่อไปนี้

เหล็กแผ่น เหล็กแผ่น มีทั้งแบบแผ่นดำ และแผ่นขาว แต่ส่วนใหญ่มักจะมีการใช้เหล็กแผ่นดำมากกว่า สำหรับความแตกต่างของเหล็กแผ่นดำและเหล็กแผ่นขาวนั้น อยู่ที่ขนาดของมัน โดยเหล็กแผ่นดำ จะมีขนาดตั้งแต่ 4×8 ฟุต จนถึง 5×20 ฟุต แต่ถ้าหากเป็นเหล็กแผ่นขาว จะมีขนาดเดียวคือขนาด 4×8 ฟุต ซึ่งเป็นขนาดที่เล็กที่สุดของเหล็กแผ่นดำ แต่ในส่วนของความหนานั้น มีให้เลือกหลายขนาดไม่ต่างกันเลย เหล็กแผ่นดำจะมีชื่อเรียกอีกมากมาย เช่น เหล็กแผ่น (เรียกแบบโดยตรง) เหล็ก Plate และในปัจจุบันนี้ก็มีเหล็กแผ่นถูกผลิตขึ้นมาอีก 1 แบบ ซึ่งก็คือเหล็กแผ่นแบบลาย ถ้าใครนึกไม่ออกว่าแผ่นเหล็กลายเป็นอย่างไร ให้นึกถึงสะพานลอยที่มีการปูพื้นด้วยเล็กแล้วมีลวดลายที่พื้นเหมือนรูปกากบาท นั่นคือเหล็กแผ่นลายที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่ เหล็กแผ่น มักจะนิยมนำไปใช้กับงานโครงสร้างอาคาร งานโครงสร้างรถยนต์ และงานปูพื้นโรงงานอุตสาหกรรม

เหล็กแบน เป็นเหล็กที่มีลักษณะคล้ายกับเหล็กแผ่น แต่แตกต่างกันที่ความหนาและความยาว เหล็กแบนที่นิยมใช้กันมีขนาดอยู่ที่ ยาว 6 เมตร หนา 3 มิลลิเมตร และมีหน้ากว้าว 25 มิลลิเมตร แต่อาจจะสั่งทำให้มีขนาดหนาหรือหน้ากว้างตามที่ต้องการได้ สำหรับเล็กแบน มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก คือ Flat Bars หรือ F/B เหล็กแบนนิยมนำไปใช้กับงานก่อสร้าง นำไปทำงานเชื่อม เช่น งานฝาตะแกรง งานเหล็กดัด งานแหนบรถยนต์ เป็นต้น

เหล็กโครงสร้างรูปตัวซี (Lip Channel) หรือที่เหล่าวิศวกรมักจะเรียกสั้น ๆ ว่าเหล็กตัวซี สาเหตุที่เรียกว่าตัวซี ก็เพราะว่ามีการขึ้นเหล็กรูปพรรณให้เป็นรูปตัวซี (มองจากด้านข้าง) นิยมนำไปใช้กับงานโครงสร้างอาคารใหญ่ ๆ รวมถึงงานสะพาน และงานอาคารสูง คนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงวิศวกรรมอาจเกิดความสับสนระหว่างเหล็กตัวซี และเหล็กรางน้ำได้ จึงขอนำรูปมาเปรียบเทียบให้เห็นความชัดเจนดังต่อไปนี้

 

ขอบคุณข้อมูลจากhttps:hbeamconnect.com/blog/what-are-the-types-of-profiled-steel/