Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/thanasarnc/domains/thanasarn.co.th/public_html/wp-content/themes/divi/includes/builder/functions.php on line 4783
เหล็กเส้นก่อสร้าง หัวใจหลักของงานโครงสร้าง เหล็กในงานก่อสร้าง

เหล็กเส้นก่อสร้าง หัวใจหลักของงานโครงสร้าง

เหล็ก โดยทั่วไปแล้วมีให้เลือกหลายชนิด มิใช่มีเพียงเหล็กกลมและเหล็กข้ออ้อยเพียงเท่านั้น ซึ่งการเลือกซื้อโดยผู้รับเหมานั้น จะถูกเลือกโดย 2 แบบคือ เหล็กเบา และเหล็กเต็ม เนื่องจากน้ำหนักที่แตกต่างกัน แน่นอนว่า ส่วนใหญ่แล้วผู้รับเหมามักเลือกซื้อเหล็กเบาเสียมากกว่า เพราะพื้นที่หน้าตัดไม่เต็มมาตราฐาน เหล็กข้ออ้อยก็เช่นกัน มีทั้งเหล็กเบาและเหล็กเต็ม นี่เป็นเพียงตัวอย่างข้างต้นที่พบเห็นได้บ่อยเท่านั้น ดังนั้น หากท่านเป็นเจ้าของบ้าน การเลือกผู้รับเหมาที่เชื่อถือได้ จริงเป็นอีกเหตุผลสำคัญ โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนเลือกซื้อวัสดุนั่นเอง

ในรูปแบบระบบก่อสร้างของเรา คือ ระบบก่อสร้างแบบ Panelized System ด้วยจุดเด่นสำคัญที่แตกต่างจากรูปแบบการก่อสร้างทั่วไปคือ‘มีขนาดของเหล็กให้เลือกได้หลากหลาย ทำให้สามารถเพิ่มความยาวของโครงสร้าง โดยการเพิ่มขนาดของเหล็ก แทนการเสริมโครงสร้างผนัง หรือเสาคาน’ นั่นเอง

เกร็ดความรู้:การเรียกขนาดของเหล็ก

1 นิ้วไม้บรรทัด หากเทียบเป็นเซนติเมตร จะยาวเท่ากับ 25 มิลลิเมตร หรือ 2.50 เซนติเมตร (ตัวเลขที่ถูกต้องสำหรับวิศวกรใช้คือ 2.54 เซนติเมตร)

ใน 1 นิ้ว แบ่งเป็น 8 ช่อง เรียกว่า 8 หุน ถ้า 1 หุน จึงต้องประมาณเท่ากับ 25/8 = 3.13 มิลลิเมตร

dsc_1141-large

เหล็ก 3 หุน จึงเท่ากับ เหล็ก 9 มิลลิเมตร

เหล็ก 4 หุน จึงเท่ากับ 12 มิลลิเมตร

เหล็ก 5 หุน จึงเท่ากับ 16 มิลลิเมตร

เหล็ก 6 หุน จึงเท่ากับ 20 มิลลิเมตร

เหล็กนิ้ว จึงหมายถึง เหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร ต่อไปหากได้ยินช่างพูดถึงเหล็กเป็นหุน ก็คงทราบกันแล้วว่าหมายถึงเหล็กขนาดเท่าใด ในขณะที่วิศวกรจะเรียกเหล็กจากขนาดของมิลลิเมตร เช่น เหล็ก 20 โดยละคำว่า มิลลิเมตร เป็นต้น

เหล็กในงานก่อสร้าง แบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ

  1. เหล็กเสริม(reinforcing steel)หรือ รีบาร์ (rebar)

เป็นเหล็กที่ผ่านกระบวนการรีดร้อน

  • เหล็กเส้นกลม(round bar)

จะมีเส้นผ่านศุนย์กลางตั้งแต่ 6 ถึง 28 มิลลิเมตร และขนาดความยาว 10 หรือ 12 เมตรเหมาะสำหรับงานขนาดเล็ก และขนาดกลาง มีคาร์บอน 0.28% ฟอสฟอรัส 0.058% และกำมะถัน 0.058%

  • เหล็กข้ออ้อย (deformed bar)

มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ถึง 33 มิลลิเมตร มีความยาวโดยทั่วไป 10 และ 12เมตรเหล็กเส้นข้ออ้อย เป็นเหล็ก ที่มีแรงยึดเกาะที่ผิวสูง เหมาะสำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องการความแข็งแรงสูง โดยไม่จำเป็นต้องออกแบบให้โครงสร้างใหญ่โต มีคาร์บอน 0.28% ฟอสฟอรัส 0.058% และกำมะถัน 0.058%

  • ลวดเหล็กกล้าตีเกรียว

มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.5 ถึง 8 มิลลิเมตร เหล็กลวดนี้ใช้สำหรับทำตะปู ลวดอาบสังกะสี ตาข่าย ดังแสดงในรูปที่ 12.21

  • เหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง

เป็นเหล็กเสริมคอนกรีตในการผลิตเสาเข็ม เสาไฟฟ้า คานพื้นสำเร็จรูป ท่อระบายน้ำ คอนกรีตอัดแรง ฯลฯ มีลักษณะเป็นเหล็กแบบกลมมีรอยย้ำ ต้องมีรอยย้ำ 2 แถวอยู่ตรงข้ามกันและรอยย้ำของแถวหนึ่งต้องเหลื่อมกับอีกแถวหนึ่งถ้าเป็นเหล็กแบบ กลม เกลี้ยง ต้องมีผิวทั้งหมดเรียบเกลี้ยง ไม่มีรอยปริหรือแตกร้าว หรือเป็นปีกต้องเป็นเส้นเดียวกัน ไม่มีการต่อหรือเชื่อมหากมีขึ้นในระหว่าง กระบวนการ ผลิตต้องตัดทิ้งให้หมด ผิวเหล็กต้องปราศจากคราบน้ำมันหรือสารอื่นใดที่จะมีผลทำให้แรงยึดระหว่างคอนกรีตกับเหล็กเสียไปเหล็กต้อง ไม่เป็นสนิมขุม เว้นแต่สนิมผิวซึ่งยอมให้มีได้การตัดเหล็กให้ใช้หินเจียระไนหรือกรรไกรตัดเหล็ก ห้ามใช้ก๊าซดัดเพราะว่าความร้อนจากก๊าซตัดจะทำให้   คุณสมบัติของเหล็กต่ำลง เหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรงมีคาร์บอน 0.60 ถึง 0.90% ซิลิคอน 0.10 ถึง 0.35% แมงกานีส 0.40 ถึง 0.90%ฟอสฟอรัส ไม่เกิน   0.50% กำมะถันไม่เกิน 0.05% เหล็กมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดเส้นเดียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4,5,7,9 มิลลิเมตรและชนิดตีเกลียวมีเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 3/8 นิ้ว และ 0.05 นิ้ว

  1. เหล็กรูปพรรณ
  • เหล็กรีดร้อน(Hot rolled structural steel)

มีทั้งเหล็กรูปพรรณรีดร้อน ขนาดใหญ่มีความกว้างมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มม. และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนขนาดเล็ก มีความกว้างน้อยกว่า 200 มม. โดยเหล็กประเภทนี้ เกิดจากการหลอมและหล่อขึ้นรูปเป็นเหล็กแท่งในขั้นต้น แล้วจึงให้ความร้อนเพื่อทำการรีด เพื่อลดขนาดและขึ้นรูปอีกครั้ง ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ได้แก่ เหล็ก H-Beam, และเหล็กI-Beam เป็นต้น เหล็กประเภทนี้สามารถต้านทานการตัดโค้ง (Bending) และการบิด (Twisting) ได้ดี จึงใช้เป็นเสา (Columns), คาน (Beams) และตงพื้น (Bridge girders) ในงานก่อสร้างและงานสถาปนิก

  • เหล็ดรีดเย็น(Cold formed structural steel)

เกิดจากการพับขึ้นรูปในขณะที่อยู่ในอุณหภูมิปกติโดยใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนหรือเหล็กแผ่นชุบสังกะสีเป็นวัตถุดิบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน โดยมีความต้องการต้านทานการกัดกร่อน(Corrosion resistant) มากหรือน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นโครงสร้างเสา คาน และอื่นๆ ผลิตภัณฑ์

ประเภทนี้ได้แก่ เหล็กตัว C และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวงประเภทท่อเหล็กได้แก่ ท่อเหล็กกลม

สี่เหลี่ยมผืนผ้า และสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นต้น

ท่อเหล็กรูปพรรณกับการก่อสร้าง

ท่อเหล็กรูปพรรณสำหรับการก่อสร้าง สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 2 ประเภทหลักเช่นกันคือ ท่อเหล็กที่นำไปใช้เป็นงานโครงสร้างและงานระบบ โดยท่อเหล็กที่นำไปใช้ในงานโครงสร้างก็จะนำไปใช้ในส่วนของโครงสร้างของตัวอาคาร โครงสร้างเสา หลังคา ผนังอาคารหรือแม้แต่การนำไปตกแต่งเพื่อความสวยงามของอาคาร และเหล็กที่นำไปใช้สำหรับงานระบบ ได้แก่ ระบบดับเพลิง ระบบประปา ระบบสุขาภิบาล เป็นต้น

สิ่งสำคัญควรรู้ คือ วิธีการตรวจสอบเบื้องต้น โดยวิธีการสังเกตเหล็กเส้นที่ได้มาตรฐานดังนี้

  • เนื้อเหล็ก

เหล็กเส้นกลมต้องมีผิวเรียบเกลี้ยง ไม่มีปีก ไม่มีรูตามดหรือเป็นลูกคลื่น หน้าตัดต้องกลมไม่เบี้ยว ส่วนเหล็กข้ออ้อยต้องมีบั้งเป็นระยะเท่าๆ กันสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น บั้งและครีบต้องมีขนาดและรูปร่างเหมือนๆ กัน มีสัญลักษณ์ ตราสินค้า ชื่อยี่ห้อสินค้า ชั้นคุณภาพ ชนิดเหล็ก และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ปั๊มมาบนผิวเหล็ก

  • ป้ายรายละเอียดเหล็ก

มีรายละเอียดบนป้ายเหล็กที่สำคัญ อาทิ ชื่อบริษัท, ประเภทสินค้า (Type), ชั้นคุณภาพ (Grade), ขนาด (Size), ความยาว (Length), จำนวนเส้นต่อมัด (PSC : Bundle), เลขที่เตาหลอม (Batch,Head), วัน/เวลาที่ผลิต (Date/Time), เครื่องหมายและเลขที่ มอก.

  • ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง

ต้องได้เกณฑ์ตามมาตรฐาน มอก. กำหนดที่เรียกว่า “เหล็กเต็ม” เช่น เหล็ก 9 มม. จะต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 9 มม. ขึ้นไป โดยเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ คือ เวอร์เนีย หรืออุปกรณ์อื่นที่สามารถใช้วัดได้ เช่น ตลับเมตร หรือไม้บรรทัด เป็นต้น ขนาดต้องเท่ากันตลอดเส้น ความยาวเท่ากันทุกเส้น จำนวนเส้นในมัดครบถ้วน “ราคาเหล็กที่ต่างกัน คุณภาพย่อมต่างกัน”

Cr : http://www.nhconcept.com