|
|||||
Total EAF output (million mt) | Share of total steel production | ||||
2007 | 431.5 | 32.0% | |||
2008 | 429.3 | 32.0% | |||
2009 | 356.5 | 28.8% | |||
2010 | 421.8 | 29.4% | |||
2011 | 454.2 | 29.5% | |||
2012 | 448.3 | 28.7% | |||
2013 | 428.8 | 26.0% | |||
2014 | 434.4 | 26.0% | |||
2015 | 407.1 | 25.1% | |||
2016 | 418.4 | 25.7% |
สมาคมเหล็กโลก หรือ World Steel Association เปิดเผยตัวเลขยอดการผลิตเหล็กดิบของโลกที่ผลิตจากเตา electric arc furnace ปี 2016 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2011
ยอดการผลิตเหล็กดิบจากเตา EAF ปี 2016 อยู่ที่ 418.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 407.1 ล้านตันในปี 2015 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.7 ของยอดการผลิตเหล็กดิบทั้งหมด
โดยในปี 2016 ถือว่าสัดส่วนยอดการผลิตเหล็กจากเตา EAF เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2011 อย่างไรก็ตามสัดส่วนการผลิตเหล็กดิบจากเตา EAF ในปี 2007-2008 ที่สูงขึ้นไปถึงร้อยละ 32 เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากยอดผลิตเหล็กเตาหลอมในจีน
ยอดการผลิตเหล็กเตา EAF ที่ลดลงหลังจากผ่านจุดสูงสุด 454.2 ล้านตันในปี 2011 เป็นผลมาจากการลดลงอย่างมากของยอดการผลิตเหล็กเตา EAF ในจีนและสหภาพยุโรป
โดยยอดการผลิตเหล็กเตา EAF ของจีนลดลงจาก 70.9 ล้านตันในปี 2011 ไปอยู่ที่ 47.5 ล้านตันในปี 2015 ก่อนที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2016 อยู่ที่ 51.7 ล้านตัน โดยในปี 2016 ยอดการผลิตเหล็กจากเตา EAF ของจีนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.4 ของยอดการผลิตเหล็กดิบจีนทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.9 ในปี 2015 แต่ก็ยังคงต่ำกว่าร้อยละ 12.4 ในปี 2008 ซึ่งสมาคมเหล็กโลกคาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากรัฐบาลจีนมีนโยบายสั่งปิดโรงเหล็กเตา induction furnaces
สำหรับยอดการผลิตเหล็กเตา EAF ในสหภาพยุโรปยังคงมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในปี 2016 อยู่ที่ 64 ล้านตัน ลดลงจาก 84.7 ล้านตันในปี 2007
นอกจากนี้ภูมิภาคที่มียอดการผลิตเหล็กเตา EAF เติบโตอย่างรวดเร็วได้แก่ ภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งการผลิตเหล็กในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่พึ่งพาการผลิตเหล็กจากเศษเหล็กเกือบทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามผู้บริโภคเศษเหล็กรายใหญ่ที่สุดของโลกยังคงเป็นโรงหลอมเหล็กในประเทศจีน
แหล่งที่มา: อุตสาหกรรมเหล็กไทย