Product Description
เหล็ก I-Beam คืออะไร
เหล็ก I-Beam ว่ามันคืออะไร และมีไว้ทำอะไรกันแน่ เหล็ก I-Beam เป็นเหล็กที่มีลักษณะคล้ายกับอักษรภาษาอังกฤษรูปตัว I ซึ่งในรูปทรงตัว I มีลักษณะพิเศษที่ซ่อนอยู่นั้นก็คือมุมที่ลบเหลี่ยมจากแกนกลางมาจนถึงปลายและมีคุณสมบัติต้านทานการดัดโค้งและการบิดได้ จึงมักถูกใช้งานที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น งานเกี่ยวกับการทำคาน เสาส่งไฟฟ้า และงานโครงสร้างรวมไปถึงรางเลื่อนในงานอุตสาหกรรม
เหล็กไอบีม (I-BEAM) คือ เหล็กรูปพรรณรีดร้อน (Hot-Rolled Structural Steel) ที่เกิดจากการหลอมและหล่อเป็นเหล็กแท่ง แล้วรีดในขณะที่เหล็กยังร้อนให้มีหน้าตัดเป็นรูปตัวอักษรภาษาอังกฤษ “I” ตามการเรียกชื่อ รูปแบบของหน้าตัดจะคล้ายกับเหล็กเอชบีม (H-BEAM) แต่ระยะของปีก (Flange) ทั้งบนและล่างจะสอบลงจากเอว (Web) และจนถึงปลายปีกซึ่งมีการปาดมุมโค้งอีกเล็กน้อย เหล็กไอบีม (I-BEAM) จะนิยมนำไปทำเป็นรางเครน (Crane Girder) ที่ไว้ใช้ยกของที่มีน้ำหนักมากในโรงงาน โดยจะมีน้ำหนักต่อเมตรสูงกว่า H-Beam เนื่องจากเหล็ก I-Beam จะมีความหนาของเหล็กมากกว่า เพื่อรองรับแรกกระแทก และการเคลื่อนที่จากรางเครน
เหล็กไอบีม (I-Beam Steel)
การนำไปใช้งาน
เหล็กไอบีม (I-Beam Steel) เหมาะสำหรับ การนำไปใช้ทำรางเครนในโรงงานอุตสาหกรรม งานเครื่องจักร ทำเสา คาน งานโครงสร้างต่างๆ ที่ต้องรองรับน้ำหนักมากๆ
แล้วทำไมถึงบอกว่าเหล็ก I-Beam เกิดมาเพื่อรับแรงกระแทก
เนื่องจากลักษณะพิเศษทางกายภาพเฉพาะตัวของ เหล็ก I-Beam ที่เป็นรูปตัว I จึงทำให้มีความหนามากกว่าเหล็กชนิดอื่น ๆ จึงทำให้มีความคงทนที่มากกว่า และสามารถรับแรงกดและรับแรงกระแทกได้ดียิ่งกว่าเหล็กประเภทอื่น ๆ ดังนั้นเหล็ก I-Beam จึงถูกนำไปใช้ในงานโครงสร้างเป็นส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น รางเลื่อนในโรงงานอุตสาหกรรม หรือโครงสร้างในโรงงาน และโกดังใหญ่ ๆ เป็นต้น
อย่าเข้าใจผิดระหว่าง I-Beam กับ H-Beam
ถึงเหล็กทั้ง 2 ชนิดจะมีชื่อเรียกที่คล้ายคลึงกันรวมถึงรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกันเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เหล็กทั้ง 2 ชนิดยังเป็นเหล็กโครงสร้างเหมือนกันอีกด้วย แต่ก็มีความแตกต่างในความคล้ายคลึงกันอยู่ นั้นก็คือ รูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันตามชื่อโดย I-Beam ก็จะมีหน้าตัดคล้ายตัว I และเช่นกัน H-Beam ก็จะมีหน้าตัดคล้ายตัว H
- รูปร่างต่างกันแล้วก็ยังมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน นี้จึงทำให้ I-Beam มีความหนาของเหล็กมากกว่า H-Beam จึงมักจะถูกนิยมใช้มากกว่าในงานที่ต้องรับน้ำหนักมากและมีแรงกระแทกอย่างเช่น รางเคนในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ส่วน H-Beam เป็นที่นิยมมากกว่าเพราะมีขนาดที่หลากหลายและเป็นเหล็กที่เหมาะแก่การเป็นโครงสร้างอาคารเราจึงมักจะพบเห็นได้ง่ายตามไซต์ก่อสร้างทั่วไปนั้นเองครับ
-
มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น เหล็กตัวไอ เหล็กปีกไอ เสาบีม โดยเหล็กไอบีม จัดเป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (Hot rolled structural steel) ลักษณะหน้าตัดเป็นรูปตัวไอ (I) มีรูปทรงที่ใกล้เคียงกับเหล็กเอชบีม สามารถสังเกตจุดต่างได้บริเวณปีกของเหล็ก เหล็กเอชบีม (H-Beam) ปีกทั้งบนและล่าง จะเป็นแผ่นเรียบ ทำมุมฉากเท่ากันตลอด ส่วนเหล็กไอบีม (I-Beam) ปีกจะเป็นมุมลบเหลี่ยม แผ่นเอียง ความกว้างและความสูงแต่ละด้านไม่เท่ากัน โดยเหล็กไอบีม จะสามารถรับน้ำหนัก รองรับการกระแทกได้มากกว่า ตามมาตรฐานมอก. 1227-2539 และแบ่งเป็น Grade SS400, SS490, SS540, SM400, SM490, SM520 มีความยาวให้เลือกตั้งแต่ 1 เมตร, 6 เมตร, 9 เมตร และ 12 เมตร
การนำไปใช้งาน
เหล็กไอบีม (I-Beam Steel) เหมาะสำหรับ การนำไปใช้ทำรางเครนในโรงงานอุตสาหกรรม งานเครื่องจักร ทำเสา คาน งานโครงสร้างต่างๆ ที่ต้องรองรับน้ำหนักมากๆ
-
เหล็กไอบีม ขนาด 150 x 75 x 5.5 x 9.5 มม. X 6 ม. = น้ำหนัก 102.60 กก./เส้น
-
เหล็กไอบีม ขนาด 200 x 100 x 7 x 10 มม. X 6 ม. = น้ำหนัก 156.00 กก./เส้น
-
เหล็กไอบีม ขนาด 250 x 125 x 7.5 x 12.5 มม. X 6 ม. = น้ำหนัก 229.80 กก./เส้น
-
เหล็กไอบีม ขนาด 250 x 125 x 10 x 19 มม. X 6 ม. = น้ำหนัก 333.00 กก./เส้น
-
เหล็กไอบีม ขนาด 200 x 150 x 9 x 16 มม. X 6 ม. = น้ำหนัก 302.40 กก./เส้น
-
เหล็กไอบีม ขนาด 300 x 150 x 8 x 13 มม. X 6 ม. = น้ำหนัก 289.80 กก./เส้น
-
เหล็กไอบีม ขนาด 300 x 150 x 10 x 18.5 มม. X 6 ม. = น้ำหนัก 393.00 กก./เส้น
-
เหล็กไอบีม ขนาด 350 x 150 x 9 x 15 มม. X 6 ม. = น้ำหนัก 351.00 กก./เส้น
-
เหล็กไอบีม ขนาด 400 x 150 x 10 x 18 มม. X 6 ม. = น้ำหนัก 432.00 กก./เส้น
-
- 5 ข้อแนะนำของการใช้งานเหล็ก I-Beam
- เหล็ก I-BEAM มีขนาดอะไรบ้างที่เป็นที่นิยมเรามาดูกันครับ
- 1. โปรดใช้งานอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายเพราะเหล็ก I-Beam มีขนาดที่ใหญ่ด้วยความที่เป็นเหล็กโครงสร้าง
- 2. ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพราะเหล็กที่ไม่พอดีอาจทำให้โครงสร้างโดยรวมไม่สมบูรณ์ได้และยังขนย้ายค่อนข้างยากจึงควรเลือกอย่างระมัดระวัง
- 3. ควรจัดเก็บให้ห่างจากความชื้นหรือใกล้น้ำ เพื่อให้เหล็กของเราห่างไกลจากสนิมที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากความชื้น
- 4. ควรจัดวางไว้เหนือพื้นดินและอยู่ในที่แห้ง เพื่อป้องกันความชื้นหรือน้ำที่อาจจะไปกักขังในบริเวณพื้นที่ที่เก็บเหล็ก I-Beam ที่ต่ำกว่าพื้นดิน
- 5. ควรจัดหาวัสดุปิดคลุมให้มิดชิด เพื่อป้องกันน้ำและความชื้นที่อาจมาจากที่ใดก็ได้
- ______________________________________________________________________________________
- เงื่อนไข :
- 1. ราคาดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากต้องทำการเช็คราคาและสต๊อกก่อนสั่งซื้อ
- 2. ราคาที่เสนอเป็นราคาพิเศษ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่รับเปลี่ยนหรือคืนสินค้า
- 3. ราคาดังกล่าวยังไม่รวมค่าขนส่ง กรณีรับสินค้าเอง –> รับที่คลังสินค้า อำเภอ บางปะกง จังหวัด ฉะเชิงเทรา *