Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/thanasarnc/domains/thanasarn.co.th/public_html/wp-content/themes/divi/includes/builder/functions.php on line 4783
ดีเดย์18 มิ.ย. ปรับปรุงมาตรฐานเหล็กใหม่

สภาอุตฯ ยกระดับอุตสาหกรรมเหล็กปรับปรุงมาตรฐานเหล็กเส้นก่อสร้างฉบับใหม่ เป็นเหล็กเส้นกลม มอก.ที่ 20-2559 และเหล็กข้ออ้อย-มอก.ที่ 24-2559 เพิ่มชื่อประเภทเตาหลอม ที่ใช้ผลิต และค่าเคมีที่ต้องตรวจสอบและควบคุมในเนื้อเหล็ก ชูเตา EF มาตรฐานเข้ม เริ่มบังคับใช้ 18 มิ.ย.นี้ หวังสร้างความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่กระทบต้นทุน

นายวิกรม วัชระคุปต์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สำนักงานมาตรฐานผลิตณัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ปรับปรุงมาตรฐานเหล็กเส้นก่อสร้างใหม่ จากเดิมเหล็กเส้นกลม มอก.ที่ 20-2543 และ เหล็กข้ออ้อย มอก. ที่ 24-2548 เป็นเหล็กเส้นกลม มอก. ที่ 20-2559 และเหล็กข้ออ้อย มอก.ที่ 24-2559 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 18 มิถุนายน 2561

s__32759845

ทั้งนี้ มอก.ใหม่ได้เพิ่มความเข้มงวด การตรวจสอบและควบคุมค่าเคมีในเนื้อเหล็ก โดยเพิ่มค่าเคมีที่ต้องตรวจสอบและควบคุมจาก 5 ชนิด เป็น 19 ชนิด และเพิ่มตัวพิมพ์นูน ชื่อผู้นำเข้าเหล็กเส้นก่อสร้าง ลงบนเนื้อเหล็กเพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อกับโรงงานผู้ผลิต ที่อยู่ในต่างประเทศ ในกรณีที่เกิดปัญหาในการใช้งาน และ บังคับให้ผู้ผลิตแสดงชนิดของเตาหลอม ที่ใช้ในการหลอมเหล็กเป็นตัวนูน เพิ่มลงไปบนเนื้อเหล็กทุกเส้น โดยที่ปัจจุบันมีการผลิตจากเตาหลอมอยู่ 4 ชนิด คือ เตาโอเพนฮาร์ท (OH), เตาเบสิคออกซิเจน (BO), เตาอิเล็กทรอนิกส์อาร์กเฟอร์เนช (EF) และเตาอินดักชั้นเฟอร์เนช (IF )

“เหล็กจากเตา OH กับ BO จะเป็นเตาหลอมที่ไม่มีในประเทศไทย เป็นเหล็กที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งสินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เหล็กแท่ง (Billet) ซึ่งจะนำมาผ่านกระบวนการรีด ลดขนาดเพื่อเป็นเหล็กเส้นก่อสร้าง ส่วนเตา IF เป็นเตาที่ใช้กระแสไฟฟ้าในการเหนี่ยวนำเพื่อหลอมเหล็ก ขณะที่เตา EF เป็นเตาหลอมที่ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ใช้ในการผลิตเหล็ก เพราะผลิตเหล็กเส้นก่อสร้างที่มีคุณภาพดี ช่วยขจัดสารปนเปื้อนในเนื้อเหล็กได้สามารถควบคุมค่าเคมีที่ส่งผลต่อคุณภาพ และความแข็งแรงของเหล็กได้ดีเป็นเตาหลอมที่มีการปล่อยมลพิษน้อย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงทำให้เป็นที่นิยมใช้แพร่หลายทั่วโลก”

s__32759846

ส่วนค่าเคมีในเนื้อเหล็กก็เป็นอีกหนี่งปัจจัยที่ช่วยให้เหล็กที่ผลิตออกมามีคุณภาพ ซึ่งใน มอก.ฉบับเดิมทางสมอ.กำหนดค่าเคมีที่ต้องควบคุมไว้ 5 ชนิด แต่ใน มอก.ฉบับใหม่เพิ่มเติมอีก 14 ชนิด รวมเป็น 19 ชนิด โดยค่าเคมีที่กาหนดเหล่านี้จะถูกควบคุมไม่ให้มีสารปนเปื้อนมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของเหล็กและความปลอดภัยของผู้บริโภค เช่น การมีฟอสฟอรัสในปริมาณสูงจะทาใหเ้หล็กเกิดรอยแตกได้ง่าย กำมะถันสูงทำให้เหล็กมีความเหนียวต่ำ และเปราะหักง่าย เป็นต้น

นายชัยเฉลิม บุญญานุวัตร กรรมการสมาคมผู้ผลิตเหล็กทรงยาวด้วยเตาอาร์คไฟฟ้า กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ผลิตเหล็กทรงยาวได้มีการปรับตัวเตรียมพร้อมสำหรับมอก.ฉบับใหม่ และไม่ได้กังวลว่าจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เพราะในการผลิตเหล็กเส้นก่อสร้างโดยทั่วไปไม่ว่าจะใช้เตาหลอมชนิดใดจะใช้เศษเหล็กเป็นวัตถุดิบ ซึ่งมักจะมีสารมลพิษเจือปนอยู่ไม่ว่าเป็นฟอสฟอรัส, กามะถันโบรอน ฯลฯ ส่งผลต่อคุณภาพและความแข็งแรงของเหล็กเส้น แต่เตา EF ของกลุ่มสมาคมจะมีกระบวนการในการขจัดสารมลพิษเหล่านี้ออกไป ทำให้เหล็กที่ผลิตออกมามีความสะอาดขึ้น เนื้อเหล็กแน่น ซึ่งเป็นการช่วยสร้างมูลค่า และช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจในมาตรฐาน

s__32759847

Cr.http://iiu.isit.or.th