Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home/thanasarnc/domains/thanasarn.co.th/public_html/wp-content/themes/divi/includes/builder/functions.php on line 4783
การผลิตและอัตราการใช้กำลังการผลิตเหล็กกึ่งสำเร็จรูปของอาเซียนปี 2010-2016

อาเซียนยังไม่สามารถผลิตเหล็กได้ตามความต้องการและยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้า ผู้ผลิตเหล็กส่วนใหญ่มีเพียงเตาหลอม mini-mill ซึ่งไม่สามารถผลิตเพื่อตอบสนองต่อความความต้องการใช้เหล็กในภูมิภาค

สมาคมเหล็กอาเซียน หรือ SEAISI เปิดเผย ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กสำเร็จรูปของ 6 ประเทศ สมาชิก ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม อยู่ที่ 77 ล้านตันในปี 2016 ซึ่งน้อยกว่า 32 ล้านตันมาจากการผลิตภายในภูมิภาค และมีการผลิตเหล็กกึ่งสำเร็จรูปเพียง 20 ล้านตันในปี 2016

ยอดการบริโภคเหล็กกึ่งสำเร็จรูปของ 6 ประเทศอาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เทียบกับปีก่อน อยู่ที่ 35.5 ล้านตันในปี 2016 ขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.8 ต่อปีตั้งแต่ปี 2010-2016 ส่วนยอดการผลิตเหล็กสำเร็จรูป ในภูมิภาคขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.6 ต่อปี อยู่ที่ 20.7 ล้านตันในปี 2016 ขณะที่การผลิตเหล็กกึ่งสำเร็จรูป ในภูมิภาคขยายตัวเพียงร้อยละ 1 ต่อปี สะท้อนถึงการพึ่งพา การนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป จากภายนอกภูมิภาค

ความต้องการใช้เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ของประเทศอินโดนีเซีย ในปี 2016 อยู่ที่ 9.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปีก่อน การผลิตเหล็กภายในประเทศลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 4.7 ล้านตันขยายตัวเพียงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตามการผลิตเหล็กกึ่งสำเร็จรูปในประเทศโดยรวมยังคงเพิ่มขึ้นพอสมควรด้วยอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ต่อปีตั้งแต่ปี 2010-2016 ขณะที่ความต้องการผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญเฉลี่ยร้อยละ 7.6 ต่อปี

กำลังการผลิตเหล็กกึ่งสำเร็จรูปของอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยสาเหตุหลักมาจากการลงทุนผลิต Slab ของบริษัท Krakatau POSCO ที่เริ่มดำเนินการในปี 2013 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเหล็ก ของอินโดนีเซียลดลงอย่างมากในช่วงปี 2010-2016 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิต Billet ในประเทศอินโดนีเซียลดลง จากร้อยละ 50.6 ในปี 2010 เหลือร้อยละ 39.4 ในปี 2016 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต Slab ลดลงจากร้อยละ 60 ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 54.6 ในปี 2016

ความต้องการเหล็กกึ่งสำเร็จรูป ของประเทศมาเลเซีย ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3 ในปี 2016 โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลงของยอดผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน ภายในประเทศ ขณะที่ยอดการผลิตเหล็กกึ่งสำเร็จรูป ภายในประเทศลดลงอย่างรุนแรงร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับปีก่อน อยู่ที่ 2.8 ล้านตันในปี 2016 โดยภาพรวมตั้งแต่ปี 2010 – 2016 ยอดผลิตเหล็กกึ่งสำเร็จรูป ของประเทศมาเลเซียลดลงร้อยละ 11 ต่อปี

กำลังการผลิตเหล็กกึ่งสำเร็จรูป ของประเทศมาเลเซียเพิ่มขึ้นจาก 9.2 ล้านตันในปี 2010 เป็น 12.4 ล้านตันในปี 2016 อย่างไรก็ตามอัตราการใช้กำลังการผลิตเหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเวลาดังกล่าว โดยอัตราการใช้กำลังการผลิต Billet ลดลงจากร้อยละ 66 ในปี 2010 เหลือร้อยละ 32 ในปี 2016 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต Slab ร่วงลงอย่างหนักจากร้อยละ 50 ในปี 2010 เหลือเพียงร้อยละ 1 ในปี 2016

ประเทศฟิลิปปินส์ มีเพียงการผลิตเหล็กทรงยาวรีดร้อน และมีโรงงานผลิต Billet เพียงแห่งเดียวในประเทศ ความต้องการ Billet ของประเทศฟิลิปปินส์ในปี 2016 เพิ่มขึ้นอย่างมากร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนการผลิตเติบโตในอัตราร้อยละ 11 ในปี 2016 อย่างไรก็ตามการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมากหลักจากที่ลดลงในปี 2015 ในภาพรวมการผลิต Billet ภายในประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งแต่ปี 2010 -2016 เติบโตเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.4 ต่อปี ขณะที่ความต้องการ Billet ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 11 ต่อปี

กำลังการผลิต Billet เพิ่มขึ้นจาก 1.26 ล้านตันในปี 2010 ไปอยู่ที่ 1.5 ล้านตันในปี 2016 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 83.3 ในปี 2010 ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 71.7 ในปี 2016

ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีการผลิตเหล็กทรงยาว เพียงอย่างเดียว และดูเหมือนว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องของกำลังการผลิต ยอดผลิต Billet ของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ในปี 2016 อย่างไรก็ตามในภาพรวมตั้งแต่ปี 2010 -2016 การผลิตลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5.4 ต่อปี อัตราการใช้กำลังการผลิตเหล็ก ลดลงจากร้อยละ 97 ในปี 2010 เหลือร้อยละ 70 ในปี 2016

ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ของประเทศไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี 2016 ขยายตัวร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตามการผลิตเหล็ก ภายในประเทศขยายตัวเพียงร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในภาพรวมการผลิตเหล็กกึ่งสำเร็จรูปของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2010 – 2016 ลดลงเล็กน้อยเฉลี่ยร้อยละ 1.3 ต่อปี

ประเทศไทย ไม่มีการขยายกำลังการผลิต Slab แต่กำลังการผลิต Billet เพิ่มขึ้นจาก 4.2 ล้านตันในปี 2010 มาอยู่ที่ราวๆ 5.7 ล้านตันในปี 2016 อัตราการใช้กำลังการผลิต Slab เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40 ในปี 2010 เป็นร้อยละ 45 ในปี 2016 ในทางตรงกันข้ามอัตรการใช้กำลังการผลิต Billet ลดลงกว่าครึ่งจากร้อยละ 51 ในปี 2010 เหลือร้อยละ 25 ในปี 2016 (จากการคำนวณของสมาคมเหล็กอาเซียน)

ประเทศเวียดนาม ไม่มีการผลิตเหล็กกึ่งสำเร็จรูปทรงแบน ในช่วงปี 2010-2016 ความต้องการใช้ Billet ของประเทศเวียดนามตั้งแต่ปี 2010 – 2016 เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.6 ต่อปี และการผลิต Billet ภายในประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่องขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี กำลังการผลิต Billet ของประเทศเวียดนามดูเหมือนว่าจะเติบโตอย่างมากในช่วงปี 2010-2016 โดยเพิ่มขึ้นจาก 7.4 ล้านตัน เป็น 12.8 ล้านตันในปี 2016 อัตรการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 58 ในปี 2010 เป็นร้อยละ 61 ในปี 2016
แหล่งที่มา : SEAISI