SEAISI กล่าวว่า กำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวในภูมิภาคอาเซียนนั้นมีมากกว่าการบริโภค ในขณะที่ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบนนั้นมาจากการนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ดูเหมือนว่าจะมีช่องว่างสำหรับกำลังการผลิตใหม่ๆ
ภาคการก่อสร้างในประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ถูกคาดว่าจะสามารถสนับสนุนความต้องการส่วนใหญ่ ทั้งในผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวและทรงแบนในปี 2019 และหลังจากนั้น
SEAISI คาดว่าภาคการก่อสร้างของเวียดนามจะเติบโตประมาณ 8-9% ต่อปีในช่วง 2019 – 2023 ในขณะที่มองว่าภาคการก่อสร้างของไทยจะขยายตัว 3.5%-5% ในปี 2019 และประมาณ 5.7% ในปี 2020
ถึงแม้ว่าการเติบโตของภาคการก่อสร้างของอินโดนีเซียจะถูกคาดว่า ในปี 2020 จะลดลงไปอยู่ที่ 5.72% จากการคาดการเติบโตในปี 2019 อยู่ที่ 6.82% โดยในปี 2020 ก็เป็นการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการขยายเศรษฐกิจและการเติบโตภายในของอินโดนีเซีย
ในปี 2019 ภาคการก่อสร้างของฟิลิปปินส์ถูกคาดว่า จะโต 10% และสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศฟิลิปปินส์ ได้คาดการณ์ความต้องการเหล็กในปี 2019 และ 2020 ว่าจะเติบโต 6% ในแต่ละปี
นอกจากจะสนับสนุนความต้องการเหล็กในภูมิภาคอาเซียแล้ว โรงงานเหล็กใหม่ๆของจีน จะเพิ่มความต้องการวัตถุดิบ เนื่องจากโรงงานเหล็กจะเป็นเตาแบบ blast/basic oxygen furnace โดยกำลังการผลิตใหม่ๆจะสร้างศักยภาพในการส่งออกเหล็กอีกด้วย
ขอบคุณ แหล่งที่มา : Steel Business Briefing